MK Medical Grand Opening

IMG_0392

บริษัทชินต้าคอร์ปอเรชั่น ได้เข้าร่วมกิจกรรม MK Medical Grand Opening ที่จังหวัดกาญจนบุรี ในวันที่ 4 ธันวาคม 2565

PHOTO GALLERY

ข่าวสารและบทความ

โรคภัยที่มากับหน้าร้อน

เข้าหน้าร้อนเมืองไทยเข้ามาทุกที่ หลายคนท่านคงจะคิดถึงทะเล หรือสถานที่เที่ยวเย็นๆสบาย แต่อย่าฉล่าใจไปเพราะว่าช่วงหน้าร้อนนี้เป็นช่วงที่เชื้อโรคเติบโตได้ดี โดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรีย เพราะฉะนั้นเราจึงควรระมัดระวังเชื้อโรคที่มากับหน้าร้อนเหล่านี้ด้วย เราจะพาไปดูกันว่ามีโรคอะไรบ้างที่ควรระวังช่วงหน้าร้อนนี้กัน

1.โรคอุจาระล่วงเฉียบพลัน

โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน เกิดจากการรับประทานอาหารหรือน้ำดื่มที่มีเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส โปโตซัว พยาธิ ทำให้มีการถ่ายอุจจาระเหลว ถ่ายเป็นมูกเลือด โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันเป็นโรคที่พบบ่อยโดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีสุขอนามัยไม่ดีหรือเรียกว่าไม่สะอาดนั่นเอง ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้จะถ่ายอุจจาระเหลวหรือถ่ายอุจจาระเป็นน้ำผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรงและมักหายได้เอง ส่วนใหญ่แล้วจะพบในช่วงหน้าร้อนเพราะอากาศร้อนจะทำให้อาหารและน้ำดื่มเสียง่ายและทำให้เกิดเชื้อแบคทีเรีย ที่เป็นต้นเหตุของโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันนั่นเอง

2.โรคอาหารเป็นพิษ

ติดต่อโดยการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อ มักพบในอาหารปรุงสุกๆ ดิบๆ ซึ่งมีอยู่ทั้งในเนื้อสัตว์ ไข่ รวมทั้งอาหารกระป๋อง อาหารทะเล นมที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ หรืออาหารที่ปรุงทิ้งไว้เป็นเวลานาน ซึ่งคนที่ได้รับเชื้อเข้าไปมักมีไข้ ปวดท้อง ซึ่งเชื้อที่ได้รับสามารถทำให้เกิดการอักเสบที่กระเพาะอาหารและลำไส้ได้ จึงทำให้มีอาการปวดท้อง ปวดเมื่อย คลื่นไส้อาเจียน อุจจาระร่วงด้วย หรือการติดเชื้อจากอวัยวะอื่น เช่น ข้อกระดูก ถุงน้ำดี หัวใจ ปอด ไต เยื่อหุ้มสมอง ไปจนถึงโลหิตเป็นพิษ ซึ่งหากเกิดในทารก เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ จะมีโอกาสทำให้ถึงขั้นเสียชีวิตได้เลยหล่ะค่ะ

3.โรคบิด

เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรืออะมีบา ซึ่งสามารถติดต่อได้ผ่านการรับประทานอาหาร ผักดิบ รวมถึงน้ำดื่มที่มีการปนเปื้อนเชื้อโรคด้วยนะคะ หากติดเชื้อก็มักจะมีไข้ ปวดท้องแบบปวดเบ่ง ถ่ายอุจจาระบ่อย และอาจทำให้อุจจาระมีมูกหรือมูกปนเลือดได้อีกด้วย

4.อหิวาตกฤโรค

เกิดจากเชื้ออหิวาตกโรค ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียที่ติดต่อจากอาหารหรือน้ำที่มีเชื้อโรคปนเปื้อนอยู่ ซึ่งหากติดเชื้อโรคนี้จะทำให้เราถ่ายอุจจาระเป็นน้ำคราวละมากๆ โดยไม่มีอาการปวดท้อง และมีอาการขาดน้ำและเกลือแร่อย่างรวดเร็ว เช่น กระหายน้ำ อ่อนเพลีย ปัสสาวะน้อย ชีพจรเต้นเร็ว ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดภาวะช็อก หมดสติจากการเสียน้ำ และในบางรายที่มีอาการรุนแรงมากๆ อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้เช่นกันค่ะ

5.โรคไข้ไทฟอยด์ หรือ ไข้ลากสดาน้อย

อีกหนึ่งโรคที่สามารถติดต่อจากอาหารและน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรคเช่นกัน ซึ่งเจ้าโรคไข้ไทฟอยด์นี้จะทำให้ผู้ป่วยมีไข้ ปวดหัว ปวดเมื่อย เบื่ออาหาร และอาจท้องผูกหรือท้องเสียได้ นอกจากนี้เชื้อปนก็อาจปนออกมากับอุจจาระและปัสสาวะเป็นครั้งคราวได้ด้วย ทำให้เราเป็นพาหะนำโรคได้นั่นเองค่ะ

ออกบูธสมาคมร้านยาที่ภาคอีสาน จังหวัดอุบลราชธานี

PMS? รู้ทันอาการก่อนมีประจำเดือน

PMS (Premenstrual syndrome) คือกลุ่มอาการก่อนมีประจำเดือนของผู้หญิง ซึ่งหญิงไทยในวัยเจริญพันธ์ พบว่าเข้าเกณฑ์การวินิจฉัย ของภาวะนี้ได้มากถึงร้อยลละ 20-40

สาเหตุของ PMS ยังไมาทราบเป็นที่แน่ชัด แต่คาดว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเพศหญิงคือ ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) และ เอสโตรเจน (Estrogen) ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงของสารสื่อประสาทในสมอง เซโรโทนิน (Serotonin) ช่วงหลังไข่ตก

อาการของ PMS อาจมีความรุนแรงแตกต่างกันไปในแต่ละคน โดยเกิดขึ้นเป็นประจำ ก่อนมีประจำเดือนประมาณ 1-2 สัปดาห์ อาการที่พบบ่อย เช่น ปวดท้อง ปวดเมื่อยหลัง ปวดศรีษะ ท้องอืด ถ่ายเหลว มีสิว หงุดหงิด โกรธง่าย อารมณ์ตึงเครียด และวิตกกังวล เป็นต้น ซึ่งจำนวนของผู้หญิงทั่วโลกคิดเป็น 75-95% จะมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งที่สัมพันธ์กับช่วงมีประจำเดือน โดยประกอบด้วยอาการทางด้านล่างกาย และ ทางอารมณ์ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้ต้องหยุดงาน หรือก่อให้เกิดปัญหาทางด้านความสัมพันธ์กับคนรอบข้างได้

รู้ได้อย่างไรว่ามีอาการ PMS ไหม?

สามารถสังเกตได้จากอาการทางร่างกายที่เปลี่ยนไปต่อไปนี้ ปวดศรีษะ ปวดท้อง ถ่ายเหลว คัดตึงเตานม สิวขึ้นมากกว่าปกติ หรือ ตัวบวม อยากหารมากขึ้น ไม่เพียงแต่ร่างกายเท่านั้นที่มีการเปลี่ยนแต่ทางด้านจิตใจและอารมณ์ก็มีการเปลี่ยนแปลงด้วยเช่นกัน เช่น โศกเศร้าง่าย นอนไม่หลับ หรือ หงุดหงิดง่าย และวิตกกังวล

เมื่อสาวๆเข้าสู่ช่วง PMS แล้วจะหาวิธีการรับมือยังไง?

  1. ออกกำลังกาย
  2. ทำจิตใจให้ผ่อนคลาย
  3. นอนหลีบให้เพียงพอ เฉลี่ยวันละ 7-8 ชั่วโมง
  4. รับประทานผักและผลไม้ หลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มเช่น ชา กาแฟ ของทอด อาหารรสจัด ของหวาน และงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์